CLICK HERE FOR BLOGGER TEMPLATES AND MYSPACE LAYOUTS »

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ทำแฟ้มผลงาน [Portfolio] ยังไง..ให้แอดฯ"ติด"

การสอบสัมภาษณ์ หากพูดตรงๆ ตามที่เคยผ่านมา เป็นแค่เพียงการพูดคุยรู้จักเท่านั้นเอง..ไม่มีได้ซีเรียส ไม่ได้หนักหนาวิชาการอะไรมากมาย..ส่วนใหญ่อาจารย์ที่เป็นคณะกรรมการก็จะให้เราแนะนำตัว และถามประวัติของเรา..และในส่วนตรงนี้แหละหากใครที่มีผลงานเยอะๆ ก็สามารถนำเสนอในช่วงนี้ได้เลย..
โดยการนำเสนอผลงานนั้นก็จะต้องถูกจัดรูปแบบไปอย่างสง่ามีระเบียบ ไม่ใช่เป็นเอกสารหลายๆ แผ่นไปยื่น แต่ถึงขนาดต้องเป็นแฟ้มสวยงาม และสร้างสรรค์ วันนี้พี่ลาเต้ก็เลยมีขั้นตอนการทำแฟ้มผลงาน หรือ Portfolio มาฝากน้องๆ กันครับ..ลองดูซิว่าในแฟ้มผลงาน 1 แฟ้ม จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
1.หน้าปก
ควรออกแบบให้สะดุดตาไปเลย แบบเห็นปุ๊บแล้วอยากหยิบขึ้นมาอ่านปั๊บ ถ้าหน้าตาดีก็ใส่รูปตัวเองลงไปได้ นำเสนอตัวเองให้เต็มที่..แต่ที่สำคัญต้องเข้าใจง่ายและมีเนื้อหาครบถ้วน คือ เป็นของใคร ชั้นอะไร เรียนที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุใด ฯลฯ [แต่ต้องเน้นส่วนที่เป็นตัวของเราที่สุด ทำออกมาให้เป็นตัวของตัวเอง]..ส่วนนี้ถือเป็นหน้าตาด่านแรกของน้องๆ เลยนะครับ..หากใครที่ไม่ค่อยมีไอเดียบรรเจิด ก็อย่าคิดมากก็เน้นทำแบบสะอาดๆ มีระเบียบก็น่าสนใจไม่น้อยครับ..
2.ประวัติส่วนตัว
นำเสนอตัวเองเต็มที่เช่นกันครับ ถ้าจะให้ดีขอแนะนำให้ทำเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่เป็นภาษาไทย และชุดที่เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อแสดงความสามารถของตนให้แฟ้มดูน่าเชื่อถือมากขึ้น..โดยเนื้อหาที่ใส่ไปก็แนะนำตัวไปเลย ชื่อ นามสกุล วันเกิด สุขภาพ นิสัย ความชอบ รวมถึงแนวคิด และความคาดหวังในอนาคตของเราที่ทำให้เขารู้จักตัวเรามากที่สุด..ซึ่งจากหน้านี้แหละเขาจะรู้ว่าเราเป็นคนอย่างไร..ส่วนฟอนท์ตัวหนังสือ พี่ลาเต้แนะนำให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งเล่มครับ..โดยฟอนท์ที่ดูเรียบร้อยเป็นมืออาชีพ ก็จะมีพวก Angsana, Cordia เป็นต้นครับ...
3.ประวัติการศึกษา
ให้เขียนเรียงลำดับจากการศึกษาที่น้อยสุดมาจบที่ปัจจุบัน โดยเพื่อความแสดงศักยภาพในการเรียน และอาจจะบอกไปด้วยก็ได้ว่า แต่ละระดับที่เราเรียนมานั้นได้เกรดเฉลี่ยรวมเท่าไหร่ แต่หากใครที่ไม่มั่นใจก็เว้นไว้ก็ไม่เป็นไรครับ..รายชื่อโรงเรียนก็เขียนให้เต็มยศเลยนะครับ..ไม่ควรที่จะย่อ ส่วนระดับก็สามารถแยกเป็น ระดับประถมศึกษา, ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือระดับอาชีวศึกษา เป็นต้นครับ..
4.รางวัล และผลงานที่ได้รับ
เขียนเป็นลักษณะการเรียงลำดับได้เลยครับ..โดยจะกำหนดเป็นปี พ.ศ. ก็จะน่าดูไม่ใช่น้อย เช่น พ.ศ. 2550 มีกิจกรรมอะไรบ้างที่เราเข้าร่วม หรือได้รับรางวัลเกียรติบัตรอะไรบ้าง..หากกิจกรรมที่เราเข้าร่วม มีรูปประกอบด้วย ก็สามารถลงในส่วนนี้ได้เลยครับ ซึ่งส่วนที่เป็นรายชื่อรางวัลที่ได้รับ กับส่วนที่เป็นประมวลภาพควรจะอยู่คนละส่วนกัน ไม่ควรนำมาปนกันในหน้าเดียวกันครับ ซึ่งในส่วนนี้เขียนเป็นผลงาน พร้อมรูปประกอบเท่านั้นนะครับ..อย่าเพิ่งใส่ประกาศนียบัตรลงไป..ส่วนที่เป็นใบประกาศจะมีอีกส่วนหนึ่งอยู่ด้านท้ายครับ..
5.รางวัลและผลงานที่ประทับใจ
ส่วนนี้จะพิเศษมากกว่าผลงานทั่วไปครับ..เพราะเป็นผลงานที่เราภาคภูมิใจ และประทับใจเต็มใจมากๆ ที่จะนำเสนอ..ลักษณะการจัดการเขียนก็คล้ายๆ กับข้อก่อนหน้านี้..แต่สิ่งที่ควรเพิ่มควรจะมีการบรรยายให้ผู้อ่านได้ทราบด้วยว่า ผลงานนี้เราภูมิใจอย่างไร เหนื่อยยากอดทนแค่ไหนกว่าจะได้มา..ที่สำคัญอย่าลืมใส่รูปประกอบไปด้วย..จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจได้ไม่น้อยทีเดียวครับ..
6.กิจกรรมที่ทำระหว่างเรียน
น้องๆ คนไหนที่เป็นประธานนักเรียน คณะกรรมการนักเรียน ประธานชมรม หรือเครือข่ายกิจกรรมโรงเรียนต่างๆ ก็สามารถมานำเสนอได้ในส่วนนี้ครับ..ส่วนใหญ่การทำกิจกรรมมักจะไม่มีประกาศนีบบัตร ซึ่งลักษณะการนำเสนอก็บอกไปเลยว่า ระดับ ม.1 ทำกิจกรรมอะไรบ้าง..ม.2 ม.3 ม.4 ถึง ม.6 ทำกิจกรรมอะไรบ้าง..ตรงส่วนนี้จะรวมถึงการทำงานพิเศษ งานพาร์ทไทม์ก็ได้ ก่อนจะทิ้งท้ายด้วยการประมวลภาพกิจกรรมที่เราเคยทำ..ข้อนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบ โดยหากใครมีเยอะ ย่อมเป็นที่สนใจของผู้อ่านเยอะเช่นกันครับ..
7.ผลงานตัวอย่าง
หลายคนอาจจะบอกว่ามีความสามารถด้านจัดหน้า ออกแบบหนังสือ หรือผลงานด้านหัตถกรรม ก็มาสามารถนำมาใส่ตรงส่วนนี้ได้..รูปแบบการใส่ของให้มาเป็นรูปภาพ ไม่ควรมาเป็นชิ้นงาน เพราะจะดูรกรุงรังไม่เป็นมืออาชีพครับ..ในที่นี่อาจรวมถึงโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เราเคยทำไว้สมัยเรียนก็ได้.. 8.ความสามารถพิเศษด้านต่างๆ
ในส่วนนี้แนะนำให้น้องๆ โชว์ในความสามารถพิเศษที่คนทั่วไปมีอยู่เป็นส่วนน้อยที่สามารถทำได้ หรือเป็นความสามารถพิเศษที่สามารถสอดคล้องกับคณะที่เราต้องการศึกษาต่อ หรือถ้าไม่มี ก็เป็นความสามารถพิเศษทั่วๆ ไป เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี หรือ กีฬา ฯลฯ การเป็นพิธีกรหรือผู้นำเชียร์ ก็ถือเป็นความสามารถพิเศษนะ

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ตลาดน้ำอัมพวา


เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานั้น ครอบครัวของข้าพเจ้าได้ไปเที่ยวที่ตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม ใช้เวลาเดินทางจากเพชรบุรีประมาณ 1 ชั่วโมงก็ถึง ข้าพเจ้าเดินทางถึงตลาดน้ำเวลาบ่าย 3 โมง ซึ่งเป็นเวลาที่ไม่มีแดด ทำให้เวลาเดินไม่ร้อนจนมากเกินไป ที่ตลาดน้ำอัมพวานั้นเต็มไปด้วยอาหารและขนมโบราณซึ่งหารับประทานได้ยากในสมัยนี้ ระหว่างเดินไป ข้าพเจ้าก็รับประทานไป 2 ข้างทางนั้นเต็มไปด้วยบ้านทรงไทย บ้างบ้านก็ทำเป็น homestay บ้างบ้านก็เปิดร้านอาหาร หรือ ร้านขายของที่ระลึก การไปตลาดอัมพวาครั้งนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกสนุกมาก เพราะตั้งแต่ปิดเทอมนั้น ข้าพเจ้ายังไม่ได้ไปเที่ยวที่ไหนกับครอบครัวเลย
---- ( ภาพที่เห็น เป็นรูปน้องของข้าพเจ้าเอง )